Thaipat Institute

GRI Certified Training Partner นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2556

รู้จัก    CG   ¦   ESG   ¦   CSR   ¦   CSV   ¦   SD   ¦   SE   ¦   SB

ซีเอสอาร์เทียมครองเมือง!


ซีเอสอาร์ หรือความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร (CSR: Corporate Social Responsibility) กำลังกลายเป็นข้อวิพากษ์วิจารณ์จากสังคมว่า... องค์กรมีเจตนาทำเพื่อสร้างภาพ หรือทำเพื่อประโยชน์ส่วนรวมอย่างแท้จริง จนกลายเป็นซีเอสอาร์เทียม

Busines Thai ได้มีโอกาสเข้าพบ ดร.พิพัฒน์ ยอดพฤติการ ผู้อำนวยการสถาบันไทยพัฒน์ เพื่อสัมภาษณ์ทิศทางซีเอสอาร์ในเมืองไทย ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าองค์กรส่วนใหญ่ทำ "ซีเอสอาร์เทียม" หวังผลยอดขายจากการทำเพื่อสังคมมากกว่าความบริสุทธ์ใจ โดยหลายกิจกรรมเป็นแค่กระแสความนิยมฉาบฉวย หรือกิจกรรมส่งเสริมการตลาดเพื่อสร้างสีสันการประชาสัมพันธ์ให้กับองค์กรของตัวเองเท่านั้น

ดูยังไง แท้-เทียม
ตามกระแสแห่งความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรธุรกิจที่กำลังเกิดขึ้นอย่างกว้างขวางทั่วโลก ได้สร้างความตื่นตัวให้แก่บรรดาธุรกิจทั้งในและต่างประเทศในการแสวงหาแนวทางการดำเนินธุรกิจที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม และให้ความสำคัญกับการขับเคลื่อนกิจกรรมซีเอสอาร์ในองค์กรอย่างจริงจัง

ผู้อำนวยการสถาบันไทยพัฒน์ บอกว่า กระแสความร้อนแรงของ CSR หรือ Corporate Social Responsibility ที่เกิดขึ้นชัดเจนในช่วง 4 - 5 ปีที่ผ่านมา และมีแนวโน้มในหลายองค์กรธุรกิจทำซีเอสอาร์กันมากขึ้น เนื่องจากความเชื่อของผู้นำองค์กร และองค์กรธุรกิจถูกเรียกร้องจากสังคมให้แสวงหากำไรอย่างมี คุณธรรม แทนการมองเห็นเพียงกำไรสูงสุด

ปัจจุบันโครงการซีเอสอาร์ยอดฮิตมักเชื่อมโยงไปกับปัญหาสิ่งแวดล้อม ความยากจน และโลกร้อน แต่ที่น่าสนใจคือ โครงการและกิจกรรมที่หลายบริษัททำขึ้นเป็นซีเอสอาร์แท้ คำนึงถึงความรับผิดชอบต่อสังคม หรือเป็นแค่เพื่อใช้เป็นเครื่องมือสร้างภาพแล้วนำไปสู่ผลกำไรตามมา

ถ้าอย่างนั้นซีเอสอาร์แบบไหน ที่เป็นของแท้ หรือ ของเทียม ?

ดร.พิพัฒน์ อธิบายว่า ซีเอสอาร์แท้หรือเทียมนั้น หลักง่ายให้ดูจากองค์กรธุรกิจที่ทำไม่ใช่ทำตามกระแส ไม่ได้ทำเพื่อปกปิดความไม่ดีของตัวเอง มีการทบทวนบทบาทพัฒนา การพัฒนาเศรษฐกิจทุกปี ตระหนักถึงผลกระทบแวดล้อมต่อสังคมเกิดขึ้นมาด้วยทำให้เรื่องนี้จุดเป็นประเด็นมา

ไม่ว่าซีเอสอาร์เป็นขนาดไหนก็ตาม ต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม มี 3 องค์ประกอบหลักเป็นเครื่องมือการวัดผล คือ 1.โฟกัสคน ต้องทุ่มเทจริงกับเรื่องที่ทำ 2.ความต่อเนื่อง ไม่ใช่ทำแล้วจบ และ 3.เรื่องการมีส่วนร่วมทางสังคมและพลังงาน

หลักที่ถูกต้องของซีเอสอาร์แท้ จับหลักพระพุทธศาสนา คือ สัมปทาน 4 มาปรับใช้ 2 คู่ 1.มีความไม่ดี เราต้องระงับ หรืองด 2.พยายามที่จะกันไม่ให้เกิด ซึ่งซีเอสอาร์จึงถูกแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ CSR Inprocess - ป้องกันก่อนการเกิดผลกระทบต่อสังคม 2. CSR After Inprocess - แก้ไขกับสิ่งที่เกิดผลกระทบต่อสังคมแล้ว

"ในกรณีอย่างหลังนั้นสังคม หรือ ชุมชน คงไม่ได้ประโยชน์อะไรเลย กับการทำซีเอสอาร์เทียมเพื่อสร้างภาพองค์กร ไม่ต่างจากการตื่นกระแสสีเขียวหรือโลกร้อนของภาคธุรกิจที่บรรษัทยักษ์ใหญ่และยักษ์เล็กจับมาทำกิจกรรมกันอย่างคึกคัก ซึ่งว่าไปแล้ว ไม่ได้ต่างจากการย้อมสีเขียวเพื่อสร้างภาพ โดยคำนึงถึงเป้าหมายเฉพาะตัวมากกว่าสิ่งอื่นๆ" ดร.พิพัฒน์ กล่าวและเพิ่มเติมว่า

การแจกของบางอย่าง การบำรุงรักษาเรื่องสิ่งแวดล้อม ไปปักต้นกล้า ไม่ได้ทำอย่างจริงใจ องค์กรธุรกิจเอาไปทำจนน่าเป็นห่วง คงต้องปลูกจิตสำนึกให้ทำด้วยความจริงใจ ให้ทำซีเอสอาร์เชิงป้องกัน ก่อนการเกิดผลกระทบต่อสังคมตามมา

ซีเอสอาร์แท้... ต้องทำเชิงป้องกัน
หากองค์กรธุรกิจทำสิ่งที่ดีอยู่แล้ว สังคมก็รับรู้ในความดีของเขา มีหลายองค์กรธุรกิจพยายามกลบเกลื่อนความไม่ดี และสังคมก็จะเป็นศาลพิพากษาเขา สถาบันไทยพัฒน์พยายามนำเสนอข้อเท็จจริงไม่ได้โทษองค์กรธุรกิจ มีผลสำรวจในต่างประเทศหลายแห่ง คอยนำผลสำรวจเสนอและป้อนให้กับองค์กรต่างๆ ปลูกจิตสำนึกให้รู้สึกมีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อสังคมอย่างแท้จริง

เขา ระบุว่า แนวทางของสถาบันไทยพัฒน์ จะเน้นให้องค์กรต่างๆ ทางธุรกิจทำซีเอสอาร์เชิงป้องกัน (CSR Inprocess) ให้รู้จักตระหนัก และหาวิธีป้องกันก่อนการเกิดปัญหากระทบต่อสังคม ถ้าเราใช้หลักที่ถูกต้อง ก่อนที่จะทำเพื่อสังคมในเชิงสร้างสรรค์ ผลจากความดีที่ได้ส่วนนั้น

จากสถิติแล้ว ไทยพัฒน์ได้เข้าไปเพื่อสำรวจซีเอสอาร์แท้-เทียม และป้องกันมากกว่า เราจะให้ในเชิงคุณภาพ ให้ดูกิจกรรมนั้นเป็นผู้ต้องทำเพื่ออะไร ทำเพื่อองค์กร หรือทำเพื่อยอดขาย เป็นพีอาร์ และโฆษณา 40-50 % ผลประโยชน์องค์กรได้ เช่น ไปแจกของนั้น คือ นำตรงนั้นมาพีอาร์ เพราะบริจาคเองไม่มีเหตุผลที่โฆษณาได้ เชิญชวนให้คนในสังคมไปทำความดี กิจกรรมที่บริจาคต้องไม่เป็น

ลักษณะการอวดความดี และทำให้สังคมได้อานิสงส์ขององค์กร มีการสื่อสารไม่ได้ออกมาเชิญชวนตรงกันและอาจจะไม่ได้มีประโยชน์มากมาย ซีเอสอาร์จริงๆ ผลที่ได้ คือ ผลที่ได้ยั่งยืนและมีซีเอสอาร์อยู่บ้างไม่มากก็น้อย ซีเอสอาร์มีทุกแห่ง มีความเข้มขันมากหรือน้อยแตกต่างกัน

ในฐานะสังคมใช้อำนาจไปบังคับไม่ได้ เพราะต้องมีภาครัฐเข้าไปควบคุม ซึ่งหน้าที่รัฐจะเข้าไปบังคับกฏหมาย ในแง่ของประชาชนเอง ใช้วิธีการคิดค้น และใช้วิธีการเรียกร้องสื่อสารมวลชน ประท้วงหน้าโรงงาน เช่นมาบตาพุด เห็นชัดเจนที่สังคมได้รับความเดือดร้อน ป่วยจริง องค์กรนั้นจึงปฏิเสธความรับผิดชอบไม่ได้ เราร่วมมือตั้งกองทุนชดเชย ซึ่งความรับผิดชอบเหล่านี้ ผู้ประกอบการมีจิตสำนึกหรือเปล่า

ดร.พิพัฒน์ กล่าวต่อว่า การมองระยะสั้นหรือระยะยาว ให้มองการวิจัยและพัฒนา แม้มีต้นทุนค่าใช้จ่ายก็จ่ายเพื่อองค์กรระยะยาว ในแง่การลงทุนเบื้องต้นทำให้ไม่มีปัญหาในระยะยาว ถ้าผู้บริหารทำซีเอสอาร์เชิงป้องกัน (CSR Inprocess) ไปแสวงหาผล ซึ่งมีความน่าเชื่อถือ วันนี้มีความพยายามในการทำอยู่ โดยเฉพาะสิ่งแวดล้อม ส่วนใหญ่จะมีรัฐวิสาหกิจ โดยหุ้นรัฐบาล และเข้าไปกำกับดูแลบริษัทเอกชน ด้วยสิ่งและได้ชี้ให้เห็นถึงการ Enforcement หรือการใช้กฏหมายเข้ามาบังคับ

ทว่า ปัญหาก็วนเวียนอยู่ในมือ กฏหมายมีอยู่เราไม่บังคับใช้ อาจมองว่าประเทศไทยอยู่ในระบบอุปถัมภ์ เรื่องการเกื้อกูลกัน รัฐอ่อนแอ แสดงบทบาท และสามารถเรียกร้องกดดันได้ การที่องค์กรและประชาชนเสียงดังขนาดไหน มีกลุ่มผู้บริโภคทำหน้าที่ตรวจสอบ เพราะว่า เราต้องยึดความเป็นจริง บางครั้งเราก็ตำหนิตัวเอง ทำยังไงให้ส่วนไม่ดีเกินขีด นิยามของการผลิตรูปแบบหนึ่ง คือ คุณต้องทำลายอยู่แล้วแต่วิธีการ

อย่างไรก็ตาม ถ้าดูสถิติปัจจุบัน จำนวนองค์กรทำซีเอสอาร์ มีจำนวนเพิ่มขึ้นทุกกลุ่มธุรกิจขนาดเล็กและใหญ่ โดยเฉพาะองค์กรขนาดใหญ่ มุมหนึ่งไม่ได้สะท้อนออกมาและสื่อมีการสร้างผลกระทบเชิงลบของสังคมมากขึ้น กระทบต่อองค์รวมของสังคม

ส่วนที่ไปกระทบเชิงลบมีปัญหามากกว่าและไม่มีความสำนึกในหน้าที่เขา และยังตัดสินไม่ได้ว่าซีเอสอาร์ มีสังคมดีที่มีการรณรงค์ มีการเอาซีเอสอาร์มาปกปิดของตัวเอง ถ้าเลือกไปทางหนึ่ง ผลลบอีกปัญหา เรามีหน้าที่ให้เขา องค์กรธุรกิจให้ความสนใจซีเอสอาร์มากขึ้นองค์กรธุรกิจเอกชนทำซีเอสอาร์หน้าจอเองนักข่าวทีวีด้วย แต่ทำฉาบฉวย

ซีเอสอาร์เชิงกลยุทธ์ รู้จักการใช้จ่ายไม่ให้เป็นหนี้ เขามีความรู้อยู่แล้วได้ประสิทธิผลมากกว่า บริษัทชั้นนำ องค์กรธุรกิจขนาดใหญ่มีซีเอสอาร์มานาน วิธีการหนึ่งอาจช่วยเขา คือ ขันน๊อต และเสียทรัพยากร เราเริ่มทำแล้ว องค์กรธุรกิจต่างๆ ต้องการบูรณาการ และไปในทิศทางเดียวกัน

การทำซีเอสอาร์ในเชิงพีอาร์ หลายบริษัททำด้วยใจ ซีเอสอาร์บางบริษัททำแล้วคาดหวังผลตอบแทน ซีเอสอาร์แท้ต้องทำและให้อย่างแท้จริง องค์กรธุรกิจต้องการทำเพื่อความแน่นอน คิดว่าใครได้ อันนี้ใครได้ ในต่างประเทศมีองค์กรระดับโลกที่เป็นความคืบหน้าในการเป็นต้นแบบในประเทศ คือ ฟิลลิป คอตเลอร์ ในเรื่อง Coperate Social Responsibility

เดินสายสร้างแผนแม่บทซีเอสอาร์
ผู้อำนวยการสถาบันไทยพัฒน์ เปิดเผยว่า กิจกรรมซีเอสอาร์ทุกปี และทุกปีกิจกรรมใดควบรวมผนวกได้มัน ตอบหลายๆประเด็นสังคม มีหลายกิจกรรม โครงการเดียวแต่ตอบหลายวัตถุประสงค์ เน้น Resource อย่างคุ้มค่ามีประสิทธิผล แม้ไม่ได้มีความช่องทางมาก เรามีองค์ความรู้มาก มีการถ่ายทอดองค์กรเพื่อทำธุรกิจ พอเขาได้มาส่วนหนึ่งเมื่อการที่เขาทำสัมมนาเป็นหลัก บรรยายมาก เป็นที่มาของซีเอสอาร์ แคมปัส

ประกอบด้วย 3 พันธมิตร คือ แคท เทเลคอม , ดีแทค และโตโยต้า ให้ความรู้ในเชิงทฤษฎีเพื่อการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับซีเอสอาร์แล้วยังมีการอบรมเชิงปฏิบัติการ ซึ่งมีทั้งการมองซีเอสอาร์ในเชิงกลยุทธ์ระดับองค์กร ขณะเดียวกันยังมีเวิร์กช็อปการระดมสมองคนในพื้นที่ ในการสร้างกิจกรรมซีเอสอาร์ขึ้นในแต่ละจังหวัด 75 จังหวัด มีการโรดโชว์ มีการบรรยายเรื่องซีเอสอาร์เชิงกลยุทธ์ ให้คำปรึกษาและให้องคืกรจัดทำแผนแม่บท ซีเอสอาร์ และประเมินสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ ซึ่งพัฒนามาจากการมองเห็นปัญหาในแต่ละพื้นที่ รวมไปถึงยุทธศาสตร์ซีเอสอาร์ ระดับภาค เพื่อนำเสนอกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในการกำหนดยุทธศาสตร์ซีเอสอาร์ให้เป็นนโยบายระดับชาติ

แผนแม่บทซีเอสอาร์สิ่งที่ทำ คือ กระบวนการให้เวทีเดินสายไปทั่วประเทศ เดินสายซีเอสอาร์เชิงนโยบายและทุกจังหวัด ผลลัพธ์ของซีเอสอาร์ ร่างนโยบายซีเอสอาร์ มีแผนเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อเป็ฯแผนแม่บทแห่งชาติ ได้มา 3 ภาค เหลือภาคกลางคงจะเสร็จตุลาคม 2551 และน่าจะเสนอเข้าครม.ปีหน้า

นอกจากนี้ยังมีหน่วยงานต่างๆ ขับเคลื่อนเรื่องซีเอสอาร์ เรามีศูนย์คุณธรรม ภารกิจเพิ่ม กระทรวงแรงงานมีการทำแรงงานไป มีการประกอบธุรกิจอย่างเป็นธรรม เช่น โครงการรับบริจาคน้ำมันพืชใช้แล้ว คุณจะได้พันธมิตรเยอะมาก และประชาชนเข้ามาเพราะน้ำมัน เขามาขายเพื่อเอาไปทำไบโอดีเซลล์ ควรได้รับการชื่นชม

ซีเอสอาร์แห่งอนาคต
เมื่อกาลเวลาทำให้หลายสิ่งเปลี่ยนแปลงไป หลักการทำซีเอสอาร์ก็เปลี่ยนไปเช่นเดียวกัน โดยเปลี่ยนไปในทิศทางที่การทำซีเอสอาร์ที่เข้มข้นขึ้นและให้เกิดความยั่งยืนให้ลูกหลานได้ใช้ประโยชน์จากสิ่งที่สังคมดำรงไว้

ดร.พิพัฒน์ ชี้ว่า พัฒนาการของซีเอสอาร์เมื่อย้อนกลับไป10 ปีก่อน เรียกว่าบรรษัทภิบาล (CG) หมายถึง การกำกับดูแลกิจการให้เจริญรุดหน้าอย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยเงื่อนไขของความถูกต้องโปร่งใส การมีจริยธรรมที่ดีโดยมุ่งคำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสียในกิจการนั้น และเมื่อ 4 - 5 ปีที่ผ่านมาคำว่า "ซีเอสอาร์" จึงได้ถูกพูดถึงแทนซีจี และได้รับการตอบรับอย่างนี้

โดยความแตกต่างระหว่าง 2 คำนี้ นั่นคือ ซีจีเป็นส่วนหนึ่งของซีเอสอาร์ นั่นหมายความว่า ซีเอสอาร์ หรือบรรษัทบริบาล คือ ความสำนึกรับผิดชอบต่อสังคมในฐานะพลเมืองบรรษัท (corporate citizen) การมีคุณธรรมโดยคำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสียทั้งในและนอกกิจการอย่างเท่าเทียมกัน

และแนวโน้มของซีเอสอาร์สเตร็ปที่ 3 หรือลำดับขั้นซีเอสอาร์แห่งอนาคต คือจะเป็น "การพัฒนาที่ยั่งยืน" ตามแนวทางแห่งความพอเพียงของประชาคม คำว่า ประชาคม หมายถึง 2 เรื่อง คือ เกิดสมดุล สังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม มีมรสุมเมื่อปี 2535 และทำให้สิ่งแวดล้อมมีปัญหา การพัฒนาที่ยั่งยืนใช้ทรัพยากรอย่างไร เพื่อให้คนรุ่นหลังใช้ด้วย ในโครงการพระราชดำริ ถือเป็นรูปธรรมเศรษฐกิจพอเพียง ใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงมาพัฒนาเป็นทฤษฎีใหม่ คนส่งเสริม

ซีเอสอาร์มีเศรษฐกิจพอเพียงระดับก้าวหน้า เศรษฐกิจพอเพียงลำดับพื้นฐาน ตั้งขึ้นมาอยู่ได้ เอาอยู่รอด ต่อมาคำนึงถึงกลุ่มของสหกรณ์ ภาคการศึกษา ซึ่งการร่วมกลุ่ม คือ ซัพพลายเชน ร่วมมือกันในเชิงแนวราบ ทำให้องค์กรเชิงธุรกิจในระดับก้าวหน้า


[Original Link]