Thaipat Institute

GRI Certified Training Partner นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2556

รู้จัก    CG   ¦   ESG   ¦   CSR   ¦   CSV   ¦   SD   ¦   SE   ¦   SB

ทิศทาง CSR 2552

กิจกรรมที่มีประสิทธิภาพ โดยไม่ต้องใช้งบประมาณมาก

ความรับผิดชอบต่อสังคมที่มีส่วนได้ส่วนเสียกับธุรกิจ เป็นหนึ่ง ในแนวทางการทำงานด้านซีเอสอาร์ ที่ธุรกิจทั่วโลกให้การยอมรับว่า เป็นหนึ่งในพันธกิจที่สำคัญของการดำเนิน ธุรกิจมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

พัฒนาการของกิจกรรมซีเอสอาร์ได้ถูกสร้างสรรค์ขึ้น โดยได้หยิบยกการช่วยเหลือสังคมในด้านต่างๆ มาเป็นแนว ทางในการดำเนินงาน ไม่ว่าจะเป็นสิ่งแวดล้อม การศึกษา หรืออาชีพ รวมทั้งการสนับสนุนกลุ่มผู้ด้อยโอกาส ทั้งในรูปแบบของความร่วมมือผ่านพันธมิตรที่เกี่ยวข้อง หรือการดำเนินการด้วยตัวเอง

แต่วันนี้การทำงานของซีเอสอาร์ ไม่ได้หยุดแค่รูปแบบของการช่วยเหลือสังคมในด้านใดด้านหนึ่ง หรือการดำเนินการของกลุ่มคนใดกลุ่มคนหนึ่ง แต่ได้ขยายวงกว้างไปถึงการสร้างส่วนร่วมของ เครือข่าย ทั้งพนักงานทุกระดับในองค์กร และเครือข่ายอาสาสมัครจากสังคมภาย นอก จนทำให้ปัจจุบันการทำงานด้านซีเอส อาร์ของธุรกิจใดธุรกิจหนึ่ง จะเชื่อมโยงเกี่ยวข้องกับคนอีกกลุ่มหนึ่งนอกเหนือจากเป้าหมายวางไว้อยู่เสมอ

ล่าสุดสถาบันธุรกิจเพื่อสังคม (CSRI) ตลาดหลักทรัพย์ฯ ร่วมกับสถาบันไทยพัฒน์ มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เผยแนวโน้มการทำ CSR ปี 2552 องค์กรธุรกิจปรับตัวรับวิกฤติ ใช้ “คน” และ “ความคิดสร้างสรรค์” เป็นทรัพยากรหลัก กิจกรรม CSR แนว ECO-CONSCIOUS จะขยับมาสู่แนว SOCIAL CONCERN เพื่อฟิตคน ในองค์กร โหมปรับปรุงกระบวนการทำ งาน เพื่อปรับโฉมผลิตภัณฑ์ให้เป็นมิตร กับสังคม รับมือกับกฎหมายใหม่เกี่ยวกับสินค้าที่ไม่ปลอดภัย โดยปีนี้หน่วยงานของรัฐและสถาบันการศึกษาจะกระโดดเข้าร่วมวงอย่างเต็มตัว

นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม ประธานที่ปรึกษาสถาบันธุรกิจเพื่อ สังคม ศูนย์พัฒนาธุรกิจตลาดทุน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า จากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวในปัจจุบัน ส่งผลให้หน่วยงานภาคธุรกิจมีการปรับนโยบาย และงบประมาณในการดำเนินงาน รวมถึงการดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคม สถาบันธุรกิจเพื่อสังคมเชื่อว่าการนำ กลยุทธ์ CSR เข้าไปอยู่ในทุกๆ ส่วนและทุกๆ วันของการดำเนินธุรกิจ มองถึงความรับผิดชอบที่มีต่อผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย ซึ่งเป็นมุมมองที่เป็นสากลและได้รับการยอมรับมากที่สุด

ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นพนักงานขององค์กร ลูกค้า ผู้ถือหุ้น คู่ค้า ชุมชน จะทำให้องค์กรสามารถปรับตัวรับมือกับปัญหาที่เกิดขึ้นในอนาคตได้ และการนำความต้องการดังกล่าวมาเป็นกลยุทธ์ในการทำงานด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมขององค์กรที่ตรงตามความต้องการของผู้มีส่วนได้เสีย จะส่งผลให้การทำ CSR ขององค์กรเกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยไม่จำเป็นต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก

สำหรับแผนงานของสถาบันฯ ได้กำหนดแนวทางการส่งเสริมและการให้ความร่วมมือในการดำเนินงานด้าน CSR เพื่อสร้างความแข็งแกร่งทางธุรกิจให้กับบริษัทจดทะเบียนและภาคธุรกิจ อาทิ โครงการอบรม และ Workshop CSR Academy การเชื่อมโยงความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในรูปแบบ CSRI Forum และ CSR Club รวมถึงศึกษาและเตรียมความพร้อมงานด้าน Social Responsible Investment (SRI) เพื่อเป็นรากฐานในการพัฒนา SRI Index ในอนาคตต่อไป

ด้านนายชัยยุทธ์ ชำนาญเลิศกิจ รองกรรมการผู้อำนวยการ สถาบันกอง ทุนเพื่อพัฒนาตลาดทุน ศูนย์พัฒนาธุรกิจตลาดทุน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศ ไทย กล่าวว่า การร่วมจัดงานในครั้งนี้ เพื่อให้บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้รับทราบถึงแนวโน้มและทิศ ทางการทำ CSR ในปี 2552 จากผู้เชี่ยว ชาญ เพื่อนำไปปรับเป็นกลยุทธ์การทำ CSR ขององค์กรที่เหมาะกับธุรกิจและสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวเป็นหนึ่งในภารกิจหลักของสถาบันฯ ที่เน้นสร้างความต่อเนื่องในการ สร้างความรู้ความเข้าใจด้านธรรมาภิบาล (Good Governance) ซึ่งรวมถึงความรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัทจดทะเบียน เพื่อยกระดับมาตรฐานธรรมาภิบาลของไทยให้ทัดเทียมกับประเทศอื่นในภูมิภาค

ส่วน ดร.พิพัฒน์ ยอดพฤติการ ผู้อำนวยการสถาบันไทยพัฒน์ มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทย ในพระบรม ราชูปถัมภ์ ได้เผยผลการศึกษาแนวโน้มและพัฒนาการของ CSR ในปีนี้ว่า องค์กร ธุรกิจที่พัฒนา CSR เชิงกลยุทธ์ได้ดีในระดับหนึ่ง จะยกระดับการพัฒนาสู่กิจกรรม CSR เชิงสร้างสรรค์ (Creative CSR) ด้วยการคิดค้นนวัตกรรมและแพลตฟอร์ม ของการทำงานร่วมกันในการพัฒนากิจกรรม CSR และผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสังคม (Socially-Friendly Products) เพื่อสร้างให้เกิดผลกระทบที่เป็นคุณค่าเพิ่ม (Value-Added Impact) แก่สังคม


[Original Link]