Thaipat Institute

GRI Certified Training Partner นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2556

รู้จัก    CG   ¦   ESG   ¦   CSR   ¦   CSV   ¦   SD   ¦   SE   ¦   SB

‘สถาบันไทยพัฒน์’ ชี้แนะ

ซีเอสอาร์แท้เป็นอย่างไร

เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ CSR ที่ถูกต้องและทั่วถึง พร้อมด้วยการบูรณาการเรื่อง CSR ให้เกิดขึ้นทั่วทั้งองค์กร และสื่อสารเรื่อง CSR ที่สอดคล้องตรงตามความเป็นจริงและทันเวลา รวมทั้งส่งเสริม ความคิดริเริ่มรายสาขา (sectoral initiatives) ในกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจของประเทศ

4 ข้อเสนอที่ทางสถาบันไทยพัฒน์ มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทย ในพระ บรมราชูปถัมภ์ ได้แนะนำในการขับเคลื่อน CSR ในประเทศไทยเอาไว้ในโอกาสที่ OECD (องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและ การพัฒนา : Organisation for Economic Cooperation and Development) และคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมสำหรับ เอเชียและแปซิฟิกแห่งสหประชาชาติ (UN ESCAP) ร่วมกับ ILO, UN Global Compact และ GRI ได้เข้ามาจัดงานสัปดาห์การค้าและการลงทุนภาคพื้นเอเชียแปซิฟิกขึ้น เป็นครั้งแรกในประเทศไทย

สถาบันไทยพัฒน์ระบุว่า ก้าวแรกของ การดำเนินงาน CSR ให้บังเกิดผล คือ บุคลากรทั้งในระดับผู้บริหารและพนักงานต้องมีความ รู้ความเข้าใจ CSR ที่ถูกต้อง มิฉะนั้น การทำ CSR ก็จะถูกขับเคลื่อนไปอย่างผิดทิศผิดทาง ตัวอย่างที่เห็นได้บ่อยที่สุด คือ การที่องค์กรเข้าใจว่า CSR คือ การตอบแทนคืนสู่สังคมในรูปแบบของการบริจาค

ดังนั้น รัฐควรส่งเสริมให้มีการเผยแพร่ องค์ความรู้เรื่อง CSR ทางสื่อต่างๆ เพื่อให้เกิดการรับรู้อย่างทั่วถึง รวมทั้งสนับสนุนการ จัดอบรมให้แก่ผู้ประกอบการโดยเฉพาะ SMEs ส่วนเอกชนควรจะมีการรวมตัวกันเป็นเครือข่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้าน CSR รวมทั้งส่งเสริมให้ภาคการศึกษาโดยเฉพาะสถาบันอุดมศึกษาผลิตตำราและสื่อการเรียนรู้ด้าน CSR อย่างเป็นระบบ และสร้างให้เกิดการแลก เปลี่ยนทางวิชาการ รวมทั้งการผลิตงานวิจัย ด้าน CSR ร่วมกับนักวิชาการต่างประเทศ

ด้านการบูรณาการเรื่อง CSR ให้เกิดขึ้นทั่วทั้งองค์กร แนะนำว่ารัฐควรสร้างให้เกิด บรรยากาศการดำเนินงาน CSR ด้วยการสร้าง สิ่งจูงใจหรือมาตรการทางการเงินการคลังที่สนับสนุนให้องค์กรธุรกิจผนวกเรื่อง CSR ไว้ในกระบวนการทางธุรกิจ

ส่วนสื่อสารเรื่อง CSR ที่สอดคล้องตรง ตามความเป็นจริงและทันเวลา จากการปกปิด ข้อมูลหรือข้อเท็จจริงบางอย่าง การขยายผล ของการกระทำให้ดูใหญ่โตเกินจริง และการ ให้ข้อมูลที่ล่าช้าเกินไป จนทำให้เกิดการลดทอนคุณค่าการดำเนินงาน CSR ที่แท้จริงลง ในหลายกรณี การใช้การประชาสัมพันธ์ (public relation) มาเป็นเครื่องมือในการสื่อสาร CSR กลับให้ผลน้อย หรือด้อยความน่าเชื่อถือกว่าการรายงานสาธารณะ (public reporting) ที่ให้ข้อมูลอย่างตรงไปตรงมา ทั้งด้านบวกและ ด้านลบ อันจะเป็นผลดีแก่องค์กรในระยะยาว

ดังนั้นรัฐควรสร้างเครื่องมือในการเฝ้า สังเกต (monitor) และควบคุมสื่อที่เข้าข่ายการเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่เกินจริง การนำเสนอกิจกรรมเพื่อสังคมที่สร้างให้เกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน โดยเฉพาะกิจการที่ดำเนินธุรกิจอบายมุข และที่ก่อให้เกิดผลกระ ทบทางลบต่อสังคมอย่างร้ายแรง ส่วนธุรกิจควรมีการประเมินผลการสื่อสารเรื่อง CSR ที่ไม่ก่อให้เกิดผลในทางลดทอนคุณค่าการดำเนินงาน CSR ที่แท้จริงลง และคำนึงถึงการสื่อสารที่ตอบสนองและครอบคลุมถึงความสนใจของผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งสื่อมวลชนควรทำหน้าที่เป็นหน้าด่านในการ เป็นผู้นำเสนอตัวอย่างที่ดีแก่สังคม และคัดกรองเนื้อหาที่ไม่ถูกต้อง โดยไม่วางเฉย รวมทั้งต้องไม่ให้อิทธิพลของธุรกิจอยู่เหนือสำนึก รับผิดชอบในทางที่รับใช้หรือให้บริการโดยคำนึงถึงเพียงเม็ดเงินโฆษณาประชาสัมพันธ์ที่จะได้รับ

สำหรับการส่งเสริมความริเริ่มรายสาขา (sectoral initiatives) แนะนำว่ารัฐควรส่งเสริมให้ผู้ประกอบการในกลุ่มธุรกิจส่งออก โดยเฉพาะเครื่องจักร อุปกรณ์ ไฟฟ้า และยานยนต์ ได้ศึกษาเตรียมความ พร้อมหรือเข้าร่วมในความริเริ่มในรายสาขา ดังกล่าว ส่วน SMEs ในกลุ่มธุรกิจส่งออก ที่อาจได้รับผลกระทบจากมาตรการด้าน CSR ของคู่ค้าในต่างประเทศ ควรจะให้ความสำคัญกับมาตรฐานและแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะกลุ่มอัญมณี พลาสติก และยาง รวมทั้งหน่วยงานอย่างสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หรือหอการค้าไทย ควรทำงานเชิงรุกในการสร้างความรู้ความเข้าใจในบริบทการค้าโลกยุคใหม่ที่มีการนำเรื่อง CSR มาเป็นเงื่อนไขทางการค้าระหว่างประเทศให้แก่สมาชิกอย่างทั่วถึง


[Original Link]