Thaipat Institute

GRI Certified Training Partner นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2556

รู้จัก    CG   ¦   ESG   ¦   CSR   ¦   CSV   ¦   SD   ¦   SE   ¦   SB

Social Positive Business

Home      Contribution      Distribution      Extension

ปัจจัยความท้าทายใหม่ๆ ในปี 2565 ทั้งปัญหาการเติบโตของเศรษฐกิจโลก ความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างประเทศ เสถียรภาพทางการเมืองในประเทศ ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและปัญหาหนี้สินในภาคครัวเรือนที่เพิ่มขึ้น ล้วนส่งอิทธิพลต่อการเติบโตทางธุรกิจและความก้าวหน้าทางสังคม นอกเหนือจากผลพวงของสถานการณ์โควิดที่ยังส่งผลสืบเนื่องต่อในปีนี้

ภายใต้ปัจจัยดังกล่าว ภาคธุรกิจกำลังเผชิญสถานการณ์ที่ไม่อาจพึ่งพารูปแบบการดำเนินธุรกิจตามปกติ (Business as Usual) ในการเติบโตได้ดังเดิม หลายกิจการที่ได้รับผลกระทบ จำเป็นที่จะต้องมองหาและพัฒนารูปแบบการดำเนินธุรกิจในวิถีปกติใหม่ (Business as New Normal) ที่เอื้อต่อการเติบโตทางธุรกิจในแบบยั่งยืน และสามารถเสริมหนุนการพัฒนาทางสังคมควบคู่ไปพร้อมกัน

สถาบันไทยพัฒน์ ได้พัฒนาแนวคิดในการปรับปรุงพัฒนารูปแบบธุรกิจ ที่เรียกว่า “ธุรกิจที่เป็นบวกต่อสังคม” หรือ Social Positive Business ซึ่งเชื่อว่า จะเป็นองค์ประกอบสำคัญต่อการสร้างผลกระทบต่อสังคมในเชิงบวกไปพร้อมกันกับการเติบโตของธุรกิจ ด้วยการยกระดับจากการให้ความช่วยเหลือแก่สังคมในรูปแบบของการบริจาคเงิน/สินค้า/บริการ ฯลฯ และการเพิ่มระดับการกระจายมูลค่าทางเศรษฐกิจผ่านกิจกรรมทางธุรกิจแก่ผู้มีส่วนได้เสียในห่วงโซ่คุณค่าอย่างเป็นธรรม ไปสู่การใช้ขีดความสามารถหลักทางธุรกิจในการขยายขอบเขตให้ครอบคลุมส่วนตลาดที่ยังมิได้รับการตอบสนอง (Unserved) หรือที่ยังตอบสนองได้ไม่เต็มที่ (Underserved) เพื่อเติมเต็มคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดี เกิดเป็นผลบวกต่อสังคมกลุ่มเป้าหมาย

การดำเนินงานที่เป็นบวกต่อสังคม (Social Positive: SP) ในที่นี้ แบ่งเป็น 3 หมวด ได้แก่
1)การให้ความช่วยเหลือที่เกิดเป็นผลบวกต่อสังคมขึ้นภายหลังกระบวนงานทางธุรกิจ และเป็นกิจกรรมที่อยู่นอกเหนือธุรกิจแกนหลักของกิจการ (SP-after-process)
2)การกระจายมูลค่าทางเศรษฐกิจที่เกิดเป็นผลบวกต่อสังคมขึ้นในกระบวนงานทางธุรกิจ ครอบคลุมตั้งแต่ผู้มีส่วนได้เสียในองค์กรไปจนถึงผู้มีส่วนได้เสียในห่วงโซ่คุณค่าของกิจการ (SP-in-process)
3)การขยายขอบเขตการดำเนินงานไปเป็นกระบวนงานทางธุรกิจในวิถีปกติใหม่ ที่ให้ผลบวกต่อสังคมจากธุรกิจแกนหลักของกิจการ (SP-as-process)

ทั้งนี้ ตัวเลขผลลัพธ์ที่เป็นบวกต่อสังคมของทั้ง 3 หมวด จะคำนวณโดยใช้มูลค่าที่เป็นตัวเงินทางตรง (Direct Monetary Value) ทำให้ได้ผลลัพธ์ที่เป็นค่าเดียวกันเสมอ แตกต่างจากเครื่องมือวัดผลลัพธ์ทางสังคมอื่นๆ (เช่น SROI) ที่คำนวณโดยอาศัยตัวแทนค่า (Proxies) ซึ่งจะได้มูลค่าที่ไม่เหมือนกันตามระเบียบวิธีที่ใช้และดุลพินิจของผู้ประเมิน


วีดิทัศน์: รู้จัก Social Positive Business