Thaipat Institute

GRI Certified Training Partner นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2556

รู้จัก    CG   ¦   ESG   ¦   CSR   ¦   CSV   ¦   SD   ¦   SE   ¦   SB

กระแส CSR ปี 55 การตลาดทางสังคมมาแรง!


จากผลพวงของสถานการณ์อุทกภัยในประเทศไทย นับตั้งแต่ไตรมาสสามของปี 54 ได้ส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของประชาชนใน 65 จังหวัด หรือคิดเป็น 84% ของประเทศ และปัจจุบันก็ยังคงมีพื้นที่ประสบอุทกภัยเหลืออยู่ในบางจังหวัดที่ต้องดำเนินการช่วยเหลือ ฟื้นฟู และเยียวยากันจนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลายและกลับเข้าสู่ภาวะปกติ

หากจะประเมินบทบาทของภาคธุรกิจ ในฐานะหนึ่งในภาคส่วนที่สำคัญของสังคม ที่สามารถระดมทรัพยากรเพื่อใช้ในการช่วยเหลือ บรรเทาทุกข์ และฟื้นฟูหลังการเกิดอุทกภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยนอกจากจะเป็นการมอบเงินบริจาค อาหาร สิ่งของอุปโภคบริโภค และวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ที่มีมูลค่ารวมกันเป็นหลักพันล้านบาทในชั่วระยะเวลาสั้นๆ แล้ว ยังมีบทบาทการอาสาของพนักงานจากองค์กรธุรกิจต่างๆ ที่เข้าช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบทั้งในระหว่างและหลังประสบภัยน้ำท่วม ร่วมกับภาครัฐและภาคประชาสังคม รวมทั้งทหารจากทุกเหล่าทัพ ตลอดห้าเดือนที่ผ่านมา

และที่สำคัญ เมื่อหลังน้ำลดหรือสถานการณ์ภัยพิบัติผ่านพ้น ภาคธุรกิจเอกชนจะมีบทบาทสำคัญเพิ่มมากขึ้นในช่วงฟื้นฟู (Recovery) ซึ่งจะทอดระยะเวลาจากนี้ไป 1-3 ปี นั่นหมายความว่า ในปี 55 บริษัทต่างๆ ทั้งที่ได้รับและไม่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากภัยครั้งนี้ จะมีกิจกรรมทางธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการฟื้นฟูอย่างถ้วนทั่วไม่มากก็น้อย แตกต่างกันไปในแต่ละกิจการ

ระดับของบทบาทภาคเอกชนและภาคส่วนอื่นๆ ที่มีต่อการรับมือกับภัยพิบัติ

ในรายงานของ World Economic Forum (Disaster Resource Partnership: A New Private-Public Partnership Model for Disaster Response, November 2010) ได้ประมวลลักษณะการมีส่วนร่วมของภาคเอกชนที่สะท้อนออกมาเป็นกิจกรรมทางธุรกิจทั้งในรูปแบบที่ไม่คิดมูลค่า (Pro Bono) หรือคิดเท่าต้นทุน (At Cost) หรือแสวงหากำไร (For Profit) ในแต่ละระยะหลังภัยพิบัติ ไว้ดังนี้

กิจกรรมทางธุรกิจที่ไม่คิดมูลค่า หรือคิดเท่าต้นทุน หรือแสวงหากำไร ในแต่ละระยะหลังภัยพิบัติ

นอกจากนี้ ในเอกสารของ World Economic Forum (A Vision for Managing Natural Disaster Risk, April 2011) ยังได้ประมวลประโยชน์ที่ธุรกิจจะได้รับจากการมีส่วนร่วมในแต่ละระยะของการรับมือภัยพิบัติ ตั้งแต่ช่วงการเตรียมพร้อม (Preparedness) การบรรเทาทุกข์ (Relief) การฟื้นฟู (Recovery) และการบูรณะ (Reconstruction) ไว้ดังนี้

ประโยชน์ที่ธุรกิจจะได้รับในแต่ละระยะของการรับมือภัยพิบัติ
การเตรียมพร้อม
(Preparedness)
การบรรเทาทุกข์
(Relief)
การฟื้นฟู
(Recovery)
การบูรณะ
(Reconstruction)
กระชับความสัมพันธ์ในท้องถิ่น
เสริมสร้างตราสินค้า ชื่อเสียง และคุณค่าขององค์กรให้แข็งแกร่งขึ้น
การพัฒนาบุคลากรเจ้าหน้าที่
กระชับความสัมพันธ์ในท้องถิ่น
เสริมสร้างตราสินค้า ชื่อเสียง และคุณค่าขององค์กรให้แข็งแกร่งขึ้น
การพัฒนาบุคลากรเจ้าหน้าที่
กระชับความสัมพันธ์ในท้องถิ่น
เสริมสร้างตราสินค้า ชื่อเสียง และคุณค่าขององค์กรให้แข็งแกร่งขึ้น
การพัฒนาบุคลากรเจ้าหน้าที่
โอกาสโดยตรงทางธุรกิจ
กระชับความสัมพันธ์ในท้องถิ่น
เสริมสร้างตราสินค้า ชื่อเสียง และคุณค่าขององค์กรให้แข็งแกร่งขึ้น
การพัฒนาบุคลากรเจ้าหน้าที่
โอกาสโดยตรงทางธุรกิจ
การพัฒนาทางธุรกิจ

สถาบันไทยพัฒน์ได้ทำการประเมินทิศทางกิจกรรมของภาคธุรกิจในบริบทที่เกี่ยวข้องกับความรับผิดชอบต่อสังคม หรือซีเอสอาร์ในปีงูใหญ่ (พ.ศ.2555) ที่มีปัจจัยหลักจากภัยพิบัติในปี 54 และความไม่แน่นอนของภัยธรรมชาติที่จะเกิดขึ้นอีกในปี 55 โดยพบว่ามีแนวโน้มที่น่าสนใจ ดังนี้

Publicity on CSR
CSR for Recovery
Societal Marketing over CSR

สำหรับทิศทางและแนวโน้ม CSR ปี 2555 ฉบับเต็ม สามารถติดตามได้จากงานแถลง “ทิศทาง CSR & Sustainability ปี 55” ในวันพุธที่ 1 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา 9.00 - 12.00 น. ณ หอประชุมศาสตราจารย์สังเวียน อินทรวิชัย ชั้น 3 อาคารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ถนนรัชดาภิเษก



ทิศทาง CSR ปี 2553
      
ทิศทาง CSR ปี 2554
      
ทิศทาง CSR ปี 2555
      

ทิศทาง CSR ปี 2550
      
ทิศทาง CSR ปี 2551
      
ทิศทาง CSR ปี 2552