Thaipat Institute

GRI Certified Training Partner นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2556

รู้จัก    CG   ¦   ESG   ¦   CSR   ¦   CSV   ¦   SD   ¦   SE   ¦   SB

หนังสือ "6 ทิศทาง ESG ปี 2567"


กระแสเรื่อง ESG (Environmental, Social and Governance) ที่แต่เดิม ถูกขับเคลื่อนอยู่ภายในแวดวงตลาดทุน โดยเป็นเครื่องมือที่ผู้ลงทุนสถาบันใช้ผลักดันให้บริษัทที่ตนเข้าไปลงทุนมีการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคม เอาจริงเอาจังกับการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม และมีการกำกับดูแลกิจการที่ดี มานับตั้งแต่ปี ค.ศ. 2004 ได้ถูกหยิบมาใช้อย่างแพร่หลาย จนกลายเป็นคำสามัญที่นำมาใช้สื่อสารกับผู้มีส่วนได้เสียในวงกว้าง นอกเหนือจากที่ใช้สื่อสารกับกลุ่มผู้ลงทุนแรกเริ่ม

แม้แต่ในแวดวงการตลาดที่ ESG ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือประชาสัมพันธ์และการสร้างภาพลักษณ์องค์กร จนในปัจจุบัน ถูกตีความว่า ส่วนใหญ่เป็นการฟอกเขียว (Green Washing) เป็นผลให้หน่วยงานกำกับดูแลในหลายประเทศ ต้องออกนิยามศัพท์ (Terminology) และการจัดหมวดหมู่ (Taxonomy) ที่เกี่ยวกับเรื่อง ESG เพื่อป้องกันการสื่อสารที่ทำให้เกิดความเข้าใจผิด และทำให้การฟอกเขียวเกิดได้ยากขึ้น

สำหรับสถานการณ์ในประเทศไทย จากผลสำรวจสถานภาพการเปิดเผยข้อมูลความยั่งยืน ของบริษัทจดทะเบียน 805 แห่ง กองทุนและองค์กรอื่น ๆ อีก 99 ราย รวมทั้งสิ้น 904 ราย ในปี 2566 โดยสถาบันไทยพัฒน์ พบว่า มีคะแนนรวมโดยเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 3.53 คะแนน จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าที่มีคะแนนรวมโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 2.46 คะแนน (จากกิจการที่สำรวจ 854 ราย ในปี 65) และ 2.2 คะแนน (จากกิจการที่สำรวจ 826 ราย ในปี 64) ตามลำดับ

ปฏิเสธไม่ได้ว่า ธุรกิจที่มีการรายงานข้อมูลอย่างโปร่งใส และสามารถเปิดเผยได้ตามมาตรฐานสากล จะได้รับการยอมรับทั้งจากหน่วยงานกำกับดูแล หน่วยงานภาครัฐ รวมถึงองค์กรผู้ประเมินทั้งในระดับประเทศและในต่างประเทศ ก่อให้เกิดความน่าเชื่อถือและเครดิตจากการดำเนินงาน อีกทั้งยังส่งผลให้กิจการมีโอกาสเข้าถึงแหล่งทุนที่มีต้นทุนต่ำที่ให้การสนับสนุนธุรกิจประเภทดังกล่าว ตลอดจนโอกาสในการเข้าถึงตลาดที่เน้นเรื่องการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน เกิดเป็นความได้เปรียบทางการแข่งขันที่สูงกว่าธุรกิจปกติทั่วไป

ในปี พ.ศ. 2567 สิ่งที่ต้องติดตาม คือ จะมีกิจการใดที่ใส่ใจสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจังต่อเนื่อง แล้วทำให้ผู้มีส่วนได้เสียได้รับประโยชน์จากกิจการ และผู้ถือหุ้นได้รับผลตอบแทนที่ดีจากการลงทุนด้วย

สถาบันไทยพัฒน์ ได้ทำการประเมินแนวโน้มความเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) ของภาคธุรกิจ ประจำปี พ.ศ. 2567 ภายใต้รายงานที่มีชื่อว่า ‘ESG in 2024 and Beyond: Who Cares Earns’ สำหรับหน่วยงานและองค์กรธุรกิจที่ต้องการใช้ประเด็นด้าน ESG ในการสร้างคุณค่าให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียในระดับต่าง ๆ ได้แนวทางที่สามารถนำไปปรับใช้ตามบริบทของกิจการ เพื่อให้ทันกับสภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลงได้อย่างมีประสิทธิผล

 


ดาวน์โหลดหนังสือ
ESG in 2024 and Beyond: Who Cares Earns



รายงาน 6 ทิศทาง CSR ฉบับปีก่อนหน้า



ทิศทาง CSR ปี 2565
      
ทิศทาง CSR ปี 2566
       
 
      

ทิศทาง CSR ปี 2562
      
ทิศทาง CSR ปี 2563
      
ทิศทาง CSR ปี 2564
      

ทิศทาง CSR ปี 2559
      
ทิศทาง CSR ปี 2560
      
ทิศทาง CSR ปี 2561
      

ทิศทาง CSR ปี 2556
      
ทิศทาง CSR ปี 2557
      
ทิศทาง CSR ปี 2558
      

ทิศทาง CSR ปี 2553
      
ทิศทาง CSR ปี 2554
      
ทิศทาง CSR ปี 2555
      

ทิศทาง CSR ปี 2550
      
ทิศทาง CSR ปี 2551
      
ทิศทาง CSR ปี 2552